กรณีศึกษาหมวดผู้นำในฐานะโค้ช |
โค้ช ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์ |
|
|
|
เรื่องที่ 2 |
สายสมรเป็นคนตั้งใจทำงาน และทำงานได้ดี ถ้าทำด้วยคนๆเดียว แต่หากต้องร่วมทำกับผู้อื่นก็จะทำได้ไม่มี เพราะรู้สึกว่าคนอื่นๆ ไม่ค่อยตั้งใจทำงานเท่าไร และทำได้ไม่ดี จึงหงุดหงิดกับเพื่อนๆ อยู่เรื่อยๆ เวลาได้รับมอหมายงานมาก็พยายามจะทำคนเดียวแต่ก็ทำไม่ไหว ถ้าจะให้เพื่อนช่วยก็ไม่แน่ใจผลลัพธ์ว่าจะออกมาดี จึงกลายเป็นความเครียดและกังวลว่างานจะไม่เสร็จ แล้วหัวหน้าจะลงโทษได้ |
|
วันนี้ หัวหน้าได้มีโอกาสเรียกสายสมรเข้ามาคุย |
|
หัวหน้า : สายสมรทำไมจึง ขี้หงุดหงิด ขี้โมโห จังเลย
สายสมร : เพื่อนๆ ไม่ค่อยตั้งใจทำงานเลยค่ะ ฉันเลยหงุดหงิด
หัวหน้า : อยากให้อาการหงุดหงิด ลดน้อยลงไหม?
สายสมร : อยากซิค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ |
|
คุณในฐานะหัวหน้าของสายสมร จะดำเนินการโค้ชชิ่ง (Coaching) ให้คุณสายสมร ลดอาการหงุดหงิดของตัวเองอย่างไรครับ |
|
|
ชุดคำถามการวางแผนการโค้ชชิ่ง (Coaching) |
|
หัวข้อที่ใช้ในการโค้ชชิ่ง (Coaching)... |
[คำตอบของอาจารย์] |
- การมองด้านดีของผู้อื่น
- การทำงานเป็นทีม
|
|
|
|
สาเหตุที่เลือกหัวข้อนี้เพราะเหตุใด?... |
[คำตอบของอาจารย์] |
: การทำให้โค้ชชิ่งมองเห็นด้านดีของเพื่อนบ้างจะทำให้เขารู้สึกดีแล้วอยากร่วมงานด้วยและการทำงานเป็นทีมย่อมได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าการทำงานเพียงคนเดียว
|
|
|
|
ขั้นตอนในการ Coaching คร่าวๆ... |
[คำตอบของอาจารย์] |
- เธอคิดว่าถ้าเพื่อนช่วยกันทำงานจะดีกว่าการทำคนเดียวหรือไม่?
- เธอคิดว่าสาเหตุที่เพื่อนยังทำงานได้ไม่ดีเป็นเพราะเหตุใด?
- ถ้าอยากให้เพื่อนทำงานให้ดีขึ้นเธอจะช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างไร?
- การทำงานเป็นทีมจะช่วยเธอเรื่องไรบ้าง?
- การหงุดหงิดเพราะคาดหวังในตัวเพื่อน เธอจะลดอาการหงุดหงิดได้อย่างไรบ้าง?
- ควรเริ่มต้นอย่างไรเพื่อให้เพื่อนและเธอทำงานร่วมกันได้?
- เธอจะลองคุยกับเพื่อนดูก่อนหรือจะให้พี่ช่วยคุยให้?
|
|
|
คาดหวังผลลัพธ์อย่างไร?... |
[คำตอบของอาจารย์] |
โค้ชชิ่งจะเริ่มมองเห็นว่าเขาอาจจะคิดด้านไม่ดีของเพื่อนมากเกินไปและการที่ให้เพื่อนช่วยงานก็จะแบ่งเบาภาระของงานไปได้บ้างงานก็จะเสร็จเร็วขึ้นและความรู้สึกเป็นทีมก็จะดีขึ้น |
|
|
|
|
|
|