ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ NLP (Neuro-linguistic programming) กับพอสังเขปดูกันหน่อย ผู้ที่คิดแนวทางนี้คือ ริชาร์ดแบนด์เลอร์ และ จอห์น กรินเดอร์ โดยเชื่อว่า การทำงานของสมอง ความคิด จิตใจ จะเชื่อมต่อถึงกันผ่านจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก ทำให้เราทำอะไรบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย เกิดจากโปรแกรมข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ หากสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์แทนที่ในจิตใต้สำนึกแล้ว ก็จะทำให้คนประสบความสำเร็จได้อย่างไม่จำกัด ผมเชื่อว่าแนวคิดดีส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา และโค้ชเป็นผู้ที่ดึงศักยภาพของโค้ชชี่ออกมา โดยทำให้โค้ชชี่ปรับเปลี่ยนความเชื่อของตัวเองเสียใหม่ โดยการคิดอีกด้านหนึ่งของสิ่งที่เขาติดอยู่ ซึ่งวงจรพฤติกรรมกล่าวไว้ว่า “ความคิด ความรู้สึก การกระทำ พฤติกรรม” ทำให้เห็นว่ามีความสอดคล้องกับ NLP เป็นอย่างมาก ผมจึงนำหลักการของการโค้ชชิ่งและแนวทางของ NLP มาประกอบกันเป็น Style การโค้ชชิ่งของตัวเอง ดังนี้ หลักการของโค้ช คือ กระตุ้นให้โค้ชชี่คิดด้วยตัวเอง สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยโค้ชชี่ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ โค้ชชี่มีวิธีการของตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย โค้ชชี่มองเห็นประโยชน์จะจูงใจให้ปฏิบัติ ศักยภาพของโค้ชชี่ยังเหลืออยู่อีกมาก แนวทางของ NLP มีดังนี้ การใช้ข้อมูลเชิงบวกกับตัวเองซ้ำๆ การค้นหาจุดยึดติดที่ไม่ดีของตัวเองมาแก้ไข การจินตนาการเป้าหมายว่าสำเร็จแล้ว การเบรกพฤติกรรมของตัวเองที่ไม่ดีแล้วเปลี่ยนใหม่ การใช้การกระทำกำหนดอารมณ์ของตัวเอง กระบวนการโค้ชชิ่งของผมใน Style ของตัวเองจะเน้นการใช้คำถามให้โค้ชชี่คิดถึงสถานการณ์ของตัวเอง (มองเห็นและยอมรับ) แล้วจูงใจให้ปรับเปลี่ยนความคิดที่มีประโยชน์ โดยการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมของตัวเองขึ้นมาโดยจินตนาการ ว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร (มองว่าสำเร็จแล้ว) ก็จะจูงใจให้โค้ชชี่