การเรียนรู้การตั้งคำถาม
เพื่อเป็นกระจกที่ใสสำหรับการสอน
- โดย โค้ชสุณิชชา ชอบชัย |
|
|
มนุษย์ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเองมากที่สุด แม้จะดิ้นรนหาคัมภีร์ หรือตำราที่มากมายเพื่อเสริมเติมมากเท่าใด ก็ยังใช้ความเชื่อ ความคิด ของตัวเองเป็นสำคัญ
ดังนั้นการที่เรามีวิธีการที่หลากหลาย เทคนิคที่สุดยอดให้ใครๆก็ตาม สิ่งที่ควรเข้าใจคือ สิ่งที่เราคิด เราทำแล้วสำเร็จ ก็เป็นของตัวเรานั่นเอง จะขายไอเดีย จะจูงใจ ก็ไม่มีใครเชื่อ และยอมรับสิ่งนั้นได้ 100% ส่วนตัวดิฉันจึงชื่นชอบแนวคิดของการสอนด้วยกระบวนการโค้ชชิ่ง เพราะเราสามารถมีทางเลือก หรือวิธีการได้หลากหลาย จากคำถามที่เหมือนกันหรือคำถามเดียวกัน ส่วนคำตอบนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่ตอบว่าจะตอบอย่างไร |
|
แบ่งขั้นตอนการฝึกฝนการใช้คำถามไว้ 4 ช่วงดังนี้
ช่วงแรกของการฝึกฝน : มักใช้คำถามชี้นำ
ช่วงที่สองเริ่มฝึกเพิ่ม : เป็นคำถามปลายปิด
ช่วงที่สามมุ่งฝึกฝน : เป็นคำถามปลายเปิด (แอบจูงใจด้วยตัวอย่าง)
ช่วงที่สี่ฝึกฝนหนักขึ้น : เป็นคำถามปลายเปิด (ไม่สนใจในคำตอบของผู้เรียน) |
|
|
|
|
จะเห็นว่าการตั้งคำถาม และการเป็นผู้ถามคำถาม แบบไม่คาดหวังผลลัพธ์ หรือสามารถรับฟังคำตอบได้แม้ไม่ถูกใจเรานั้น ยากมาก แต่หากว่าเราบอกตัวเองว่า “การที่เราถามแล้วโค้ชชี่ ได้คำตอบที่เหมาะสมอกับเขานั่นเป็นสิ่งที่ใช่ที่สุด เปรียบเสมือนกระจกเงาที่ใส และไม่ผสมความรู้สึกของผู้ถามได้นั้น…เจ๋งที่สุด”
จากการฝึกฝนแต่ละช่วงนั้น ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนมาก เพื่อเป็นการก้าวข้ามด่านที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนเราส่วนใหญ่มักชอบอยู่ในพื้นที่คุ้นชิน และไม่ต้องการทำอะไรที่ยากขึ้น แล้วเราก็ผ่านไปได้ เพียงเพราะคำว่า….พัฒนาตัวเองให้เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน…
|
|
|
|
|