|
|
|
อาการของโค้ชชี่ (Coachee) |
รู้สึกว่าลูกน้องไม่ค่อยทำงาน
รู้สึกว่าไม่ค่อยมีใครช่วย ต้องทำงานอยู่คนเดียว
รู้สึกว่าหัวหน้าไม่ค่อยฟัง และไม่เข้าใจในตัวเรา |
|
|
หัวข้อที่ใช้ในการโค้ชชิ่ง (Coaching) |
เลิกถามว่า "ทำไมจึงเป็นอย่างนี้?" ให้ถามว่า "ทำอย่างไรจึงแก้ไขได้?" แทน
สร้างทัศนคติเชิงบวกโดยการมองข้อดี (จับถูก) ของผู้อื่น |
|
|
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในการสรุปว่า ลูกน้องไม่ทำงาน, เพื่อนไม่ช่วยเหลือเลย, หัวหน้าไม่เข้าใจ ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริงก็เป็นแค่มุมมองของเราในเรื่องนั้นๆ คนอื่นๆที่เราเกี่ยวข้องอาจจะไม่คิดอย่างนั้นก็ได้ ลูกน้องอาจคิดว่าเขาเต็มที่แล้ว, เพื่อนอาจรู้สึกว่าเขางานยุ่งอยู่, หัวหน้าอาจคิดว่าทำไมเราไม่เข้าใจเข้าก็ได้ เพราะเมื่อแต่ละคนต่างมีมุมมองของตัวเอง ย่อมเห็นไม่ตรงกัน หากไม่ปรับความเข้าใจกัน ก็ยากที่จะทำงานร่วมกันได้ |
|
|
|
ดังนั้นเมื่อไรที่เรารู้สึกในเรื่องดังกล่าว ก็เพราะเราใช้คำถามกับตัวเองว่า "ทำไมจึงเป็นอย่างนี้?" ซึ่งคำถามนี้จะไม่มีคำตอบ เพราะเราถามตัวเราเอง คนอื่นไม่ได้ยิน เลยไม่มีคนตอบ ทำให้เรายิ่งอึดอัดมากขึ้น แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำถามใหม่เป็นว่า "ทำอย่างไรให้ลูกน้องทำงาน?, ทำอย่างไรให้เพื่อนช่วยเหลือ?, ทำอย่างไรให้หัวหน้าเข้าใจ?" เราจะนึกวิธีการต่างๆมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีไหนที่ได้ผลมากที่สุด อย่างน้อยก็พอมีทางออก ดีกว่าความรู้สึกที่ถูกกระทำแล้วไม่มีทางออก
การทำอย่างไรกับผู้อื่น คงต้องสร้างทัศนคติเชิงบวก โดยการมองข้อดีของผู้อื่น คนทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราสามารถเลือกมองข้อดีหรือข้อเสียของเขาก็ได้ แต่ถ้าเราเลือกมองข้อดี เราก็อยากที่จะปฏิสัมพันธ์ด้วยและเห็นวิธีการที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นชัดเจนขึ้น คนทุกคนมีวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นทำงานและเข้าใจในตัวเรา เพียงแต่ความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นก่อน จึงไม่ค่อยอยากทำตามที่ตั้งใจไว้ หากเรามองข้อดีก็จะเกิดความรู้สึกดี วิธการของเราที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จะดีด้วย ผู้อื่นได้รับความรู้สึกดีๆจากเรา ก็ย่อมแสดงออกถึงเรื่องดีๆตอบด้วยเป็นอัตโนมัติแน่นอน |
|