Untitled Document
 
 
   
รูปแบบของการดำเนินการพัฒนาคน ด้วยเทคนิค Coaching
สามารถแบ่งเป็น 7 ลักษณะ ดังนี้
 
Group Coaching by Theory
Group Coaching by Tools
Group Coaching by Activity
Group Coaching in Application
การให้คำปรึกษาในรูปแบบการ Coaching
การสอนแนะผู้บริหาร (Executive Coaching)
กิจกรรมการสร้างทักษะการโค้ช (Coaching Skill Bulining)
 
สำหรับรายละเอียดของแต่ละบริการพอสังเขป ดังนี้
1.
Coaching by Theory
 
มุ่งเน้นการใช้ทฤษฏีต่างๆ ของหัวข้อที่ใช้ในการอบรมเป็นกรอบในการสอน แต่ผู้เรียนจะเป็นผู้คิดว่าสิ่งที่ได้ยินจากโค้ชนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับลักษณะงานของตัวเองหรือไม่ แล้วเลือกแนวทางที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเองไปปฏิบัติจริงแล้วฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ดังนั้น กรอบของทฤษฏีต่างๆ จึงเป็นแค่การกระตุ้นแนวความคิดให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้กับเรื่องใกล้ตัวได้ทันที ไม่ต้องจดจำ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ
 
2.
Coaching by tools
 
เหมาะสำหรับการฝึกอบรมที่เป็นกึ่ง Hard Skill เพราะต้องการให้เข้าใจเครื่องมือต่างๆ ในการประยุกต์ใช้งาน แต่จะไม่สอนว่าเครื่องมือใช้งานอย่างไรในทันที แต่โค้ชจะดำเนินการให้เกิดกรณีศึกษา แล้วให้ผู้เรียนลองเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมกับกรณีศึกษาด้วยตัวผู้เรียนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง แล้วปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยการใช้เครื่องมือปฏิบัติงานมากขึ้น
 
3.
Coaching by Activity
 
มุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน เหมาะสมกับผู้เรียนจำนวนมาก แลหัวข้อที่เป็นเชิงการพัฒนาตัวเองแบบง่ายๆ โดยกิจกรรมที่ออกแบบจะทำให้ผู้เรียนได้คิดถึงเรื่องใกล้ตัวของตัวเองแล้วใช้กิจกรรมหรือเกมมาช่วยปรับเปลี่ยนความคดใหม่ ทำให้เข้าใจในหัวข้อที่จะปรับใช้ได้ทันที และเกิดความสนุกสนานอีกครั้ง
 
4.
Coaching in Application
 
มุ่งเน้นการปฏิบัติการใน Class ให้เกิดผลงานที่สามารนำไปปฏิบัติได้ทันที มีการทำ Workshop และ Role Playing ในหัวข้อของการฝึกอบรมเป็นส่วนใหญ่ การบรรยายเป็นแค่การให้แนวความคิดในกรอบของการนำไปประยุกต์ใช้เท่านั้น ดังนั้น ผู้เรียนจะจับกลุ่มกันเพื่อซักซ้อมแผนการที่จะนำไปปฏิบัติด้วยตัวเอง แล้วนำไปทดสอบหรือทดลองใช้ แล้วจึงกลับมาพบกับโค้ชในครั้งต่อไป เพื่อเข้าไปหรือเพิ่มเติมเนื้อหาต่างๆ ในเชิงปฏิบัติการอีกครั้งจนครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด ทำให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริงๆ เพราะเป็นผู้เรียน เป้าหมาย, แผนงานและวิธีการของตัวเองด้วยตัวเอง
 
5.
การให้คำปรึกษาในรูปแบบการ Coaching
 
มุ่งเน้นให้เกิดแนวความคิดด้วยตัวเองมากกว่าการบอกวิธีการทันที การให้คำปรึกษาจึงเกิดประโยชน์ต่อผู้บริหารอย่างแท้จริง เพราะคำปรึกษาของโค้ชเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่กระตุ้นให้ผู้บริหารมีแนวความคิดเพิ่มเติมแล้วสามารถเลือกไปใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาของตัวเองด้วยการตัดสินใจเอง
 
6.
การสอนแนะผู้บริหาร (Executive Coaching)
 
การดำเนินการ 1:1 Coaching ผู้บริหารรายบุคคลทำให้มีความอิสระและเฉพาะเจาะจงในปัญหาหรือหัวข้อที่ผู้บริหารเป็นผู้เลือกด้วยตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะเกิดประโยชน์เพราะแก้ไขอาการและสาเหตุที่ตรงความต้องการมากที่สุด
 
7.
กิจกรรมการสร้างทักษะการโค้ช (Coaching Skill Bulining)
 
ผมนำแนวคิดของ "กิจกรรมสร้าง Team Building" มาประยุกต์ใช้กับการฝึกฝนทักษะการโค้ชแบบเป็นฐานต่างๆ ครับ ความตั้งใจ คือ การสร้างรูปแบบกิจกรรมให้องค์กรที่มีแนวความคิดใน "การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร(Coaching Culture)" นำไปใช้ฝึกฝนโค้ชภายในองค์กรให้มีทักษะการโค้ชด้านต่างๆให้เชี่ยวชาญมากขึ้นครับ
 
การดำเนินการในเรื่องต่างๆ นั้นมีความคล้ายกันอยู่บ้าง แต่ที่แบ่งลักษณะงานออกมาดังนี้ เพื่อให้เห็นความชัดเจนในรูปแบบและจุดมุ่งเน้นต่างๆ ตามความต้องการที่จะให้โค้ชดำเนินการ แต่แนวทางและหลักการที่ใช้ ยังคงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง หลังการอบรมเช่นเดิมครับ
 
Untitled Document
 
Copyright @2013. All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.
112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240