Untitled Document
 
 
 
แก่นสำคัญในการให้คำปรึกษา
   
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง
อาการของโค้ชชี่ (Coachee)
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง เครียด ปัญหารุมเร้า แก้ไม่หมดสักที
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง มีแต่เรื่องยุ่งๆเกิดขึ้นกับเรา ไม่รู้จะทำอย่างไรดี
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง เราอยู่ของเราเฉยๆ แต่มีคนอื่นเอาปัญหามาให้
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง ปัญหาบางอย่างแก้ไขไม่ได้ ทำอย่างไรดี
 
หัวข้อที่ใช้ในการโค้ชชิ่ง (Coaching)
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง ทัศนคติเชิงบวกและทัศนคติเชิงลบ เกิดไม่พร้อมกัน
อบรม สัมมนา แนวโค้ชชิ่ง คิดอย่างไร...ก็จะได้อย่างนั้น
 
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอกับปัญหาคือ อย่าคิดว่าเป็นปัญหา เพราะถ้าเรานิยามสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาแล้ว แสดงว่าเราทำให้ปัญหาเป็นปัญหากับตัวเรา เพราะปัญหามีไว้ให้แก้ไข (พัฒนาตัวเอง) มิใช่มีไว้แบก (อมทุกข์) ถ้าเราเปลี่ยนนิยามของสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เป็นเรื่อง ท้าทาย, เป็นการพัฒนาตัวเอง, เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความสามารถ, ได้แสดงให้ผู้อื่นยอมรับ เป็นต้น เราก็จะเกิดพลังในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ซึ่งย่อมดีกว่าจมอยู่กับปัญหา
 
การคิดว่าเกิดปัญหาขึ้นทำให้จิตใจเราหดหู่ ซึ่งเกิดจากทัศนคติเชิงลบของเราที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ เราสามารถเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบของเราใหม่เป็นเชิงบวกได้ โดยการนิยามใหม่ดังกล่าว ก็เท่ากับเราทดแทนความคิดชิงลบด้วยความคิดเชิงบวก เพราะเกิดพร้อมกันไม่ได้ ถ้าเราคิดบวก ความคิดลบก็จะหายไปเอง ถ้าเราคิดว่าทุกอย่างเป็นปัญหา เราก็จะเครียด เพราะไม่มีใครชอบปัญหา คิดอย่างไร...ก็จะได้อย่างนั้น แต่ถ้าเรามีสติขึ้น เราก็จะมองสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ หาทางแก้ไข ก็จะได้วิธีแก้ไขตามความเหมาะสมของเราเอง เขาบอกกันว่า คนส่วนใหญ่รู้วิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของตัวเอง เพียงแต่ความรู้สึกไม่อยากเจอกับปัญหาเกิดขึ้นมาก่อน วิธีแก้ไขก็เลยหายไปด้วย ถ้าเราพร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น เราก็จะมีจิตใจที่มั่นคงและคิดค้นวิธีแก้ไขได้เอง หลังจากนั้นก็คงจะลงมือทำในทันที อย่าให้ปัญหาค้างอยู่จนกลายเป็นดินพอกหางหมู
 
การมองว่าผู้อื่นเป็นผู้สร้างปัญหาให้เรา จริงๆแล้วเราเป็นผู้ไปหยิบปัญหานั้นมาคิดเองต่างหาก ถ้าสิ่งที่เราหยิบมานั้น เราไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา เราก็จะไม่โทษผู้อื่น การแก้ไขก็จะง่ายขึ้น เพราะเราเปลี่ยนทัศนคติของเราเป็นเชิงบวกแทนเชิงลบได้แล้ว เลิกโทษผู้อื่นดีกว่าครับ ลงมือแก้ไขด้วยตัวเองดีกว่า เพราะเป็นการพัฒนาตัวเองครับ

วิธีการอีกอย่าง เพื่อไม่ให้ปัญหาค้างคาอยู่ในจิตใจ หรือ สมองของเราอยู่ตลอดเวลา คือ ให้ลอง เขียนรายการปัญหา (Problem Lists)  ที่เราพบ แล้วลองเขียนวิธีการแก้ไขปัญหาแต่ละปัญหานั้นออกมาว่ามีทางเลือก/วิธีการ อะไรบ้างในการแก้ปัญหานั้น พอได้เขียนออกมาแล้ว เวลาเจอปัญหาอีกเราก็จะรู้ว่า เราจะมีวีธีแก้อย่างไรได้บ้าง  แล้วไปลองทำในแต่ละวิธีดู เราก็จะได้ความรู้ใหม่ คือ สำเร็จ หรือ ประสบการณ์
 
อาจารย์ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์ วิทยากรฝึก อบรม สัมมนา
อาจารย์ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant Independent Consultant and Professional Trainer
 
Untitled Document
 
Copyright @2013. All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.
112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240