|
ความแตกต่างของการใช้คำถาม (3) Post 12/2/56
การใช้คำถามสำหรับการโค้ชชิ่ง (Coaching) ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการถามก็จะทำให้เราสามารถสร้างคำถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้เองโดยไม่ต้องกังวลว่าจะใช้คำถามอย่างไร เช่น...
- การมองเห็นตัวเอง – การใช้คำถามให้โค้ชชี่แสดงความคิดเห็นกับเรื่องนั้นๆ
- การเปลี่ยนแปลง – ใช้คำถามให้โค้ชชี่พูดถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนี้
- กระตุ้นการลงมือทำ – ใช้คำถามให้โค้ชชี่บอกวิธีการที่เหมาะสมของโค้ชชี่เอง
- ปรับเปลี่ยนความคิด – ใช้คำถามให้โค้ชชี่บอกมุมมองอื่นๆกับเรื่องนั้นๆเพิ่มเติม
- คลายความกังวล – ใช้คำถามให้โค้ชชี่ค้นหาสาเหตุของความกังวลและแนวทางจัดการตัวเอง
(เป็นต้น) |
|
|
|
ความแตกต่างของการใช้คำถาม (2) Post 1/2/56
การใช้คำถามในฐานะที่ปรึกษาจะพยายามค้นหาประเด็นที่สำคัญของการให้คำปรึกษาเพื่อชี้แนววิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆจากประสบการณ์และความเชื่อ ของที่ปรึกษา แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ขอคำปรึกษาและวิธีการของตัวเอง
การใช้คำถามในฐานะโค้ช จะพยายามกระตุ้นให้โค้ชชี่คิดหรือ บอกแนวความคิดของเขาเองกับสถานการณ์นั้นๆเพื่อให้เขามองเห็นตัวเองกับเหตุการณ์ที่พูดคุยกัน แล้วเพิ่มคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกของโค้ชชี่เพื่อจัดการกับเหตุการณ์นั้น หรือเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่เป้าหมายที่กำหนด |
|
|
|
ความแตกต่างของการใช้คำถาม (1) Post 28/1/56
Counseling : คำถามที่ใช้มุ่งเน้นที่การค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาเพื่อให้เขารู้ว่าปัญหาเกิดจากสาเหตุใดด้วยตัวของเขาเอง แล้วให้เขาลองบอกวิธีการที่จะแก้ไขด้วยตัวเองให้ได้
Coaching : คำถามที่ใช้มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนแนวความคิดและวิธีการสอนโค้ชชี่เอง เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมายที่เป็นประโยชน์หรือมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นโดยที่โค้ชชี่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวทางและวิธีการของตัวเอง |
|
|
|
หลักการของการเป็นโค้ช (3) Post 23/1/56
โค้ชควรยึดหลักการที่ว่า “ ความคิดเปลี่ยน ความรู้สึกเปลี่ยนการกระทำก็เปลี่ยนตาม ” ถ้าโค้ชชี่เปลี่ยนความคิดได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น
โค้ชควรยึดหลักการที่ว่า “ อดีตเกิดไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ปัจจุบันสำคัญที่สุด ” ดังนั้นสิ่งที่เกิดกับโค้ชชี่เป็นอดีตไปแล้ว
ทำอย่างไรให้โค้ชชี่เปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น
โค้ชควรยึดหลักการที่ว่า “ การมองเห็นประโยชน์ จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ” ดังนั้นทำให้โค้ชชี่มองเห็นประโยชน์และคุณค่าของการปรับเปลี่ยนตัวเอง ก็จะทำให้โค้ชชี่ปฏิบัติด้วยความเต็มใจ |
|
|
|
หลักการของการเป็นโค้ช (2) Post 16/1/56
โค้ชควรใช้คำถามที่มีเจตนาให้โค้ชชี่บอกความคิดของเขาไม่ใช่สิ่งที่โค้ชต้องการรู้ เพราะโค้ชเป็นเพียงกระจกเงาไม่ใช่คนแก้ปัญหาให้เขา
โค้ชเปิดโอกาสให้โค้ชชี่พูดถึงทางเลือกอื่นๆเพิ่มเติมไม่ยึดติดกับแนวความคิดเดิม แล้วจูงใจให้เลือกทางที่เหมาะสมกับตัวเขา
โค้ชให้กำลังใจในการก้าวข้ามอุปสรรคของโค้ชชี่เอง ไม่ได้จูงใจให้เชื่อแต่ให้ลองไปปฏิบัติดู เพื่อพิสูจน์ด้วยตัวเอง |
|
|
|
หลักการของการเป็นโค้ช (1) Post 9/1/56
โค้ชเป็นเพียงกระจกเงา สะท้อนแนวความคิดของโค้ชชี่ เพื่อให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเองและยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ควรชี้แนะ
โค้ชช่วยให้โค้ชชี่มองไปข้างหน้า (สร้างการเปลี่ยนแปลง)มากกว่ากังวลกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น
โค้ชเชื่อในศักยภาพของโค้ชชี่และมั่นใจว่าโค้ชชี่มีวิธีการที่เหมาะสมของตัวเอง |
|
|