Untitled Document
 
 
  หน้าหลัก    ความรู้ทั่วไป    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการโค้ช    ทฤษฏีการโค้ช
ทฤษฏีการโค้ช
8 ส.ค. 55
โค้ชปกรณ์

      เราจะเห็นการเรียนรู้ของเด็กฝรั่งในหนังหลายๆ เรื่อง ว่าการเรียนในห้องเรียนของเขาเป็นลักษณะแบบไหน และก็มักเอามาเปรียบเทียบกับการเรียนของเด็กไทยว่า เด็กไทยเรียนแบบท่องจำมากกว่าเรียนจากการคิด-สังเกต ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ ฝรั่งเขาสอนด้วยการตั้งคำถามให้เด็กมีโอกาสคิดและแสดงความเห็นในห้องเรียน ทำให้เด็กเรียนอย่างสนุกและเกิดการคิด เห็น-เข้าใจ-เชื่อมโยง เรื่องต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง นำไปสู่การพัฒนาทักษะอื่นๆ ของเด็กฝรั่ง การสอนในลักษณะนี้ ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ในเวลาต่อมา

      "โค้ช" เป็นอาชีพที่มีมานาน และแพร่หลายอยู่ในหลายๆ ประเทศ โค้ชเป็นเทคนิคหนึ่งที่นำไปใช้ในการพัฒนาบุคคลากร สำหรับคนไทยเมื่อพูดถึง "โค้ช" เราจะนึกถึงแต่เรื่องของกีฬา ที่เรามักเห็นคือ โค้ช กีฬาทั้งกีฬาประเภททีมและกีฬาเดี่ยว โดยเป้าหมายหลักของโค้ช คือทำให้ทีม/ผู้เล่นชนะการแข่งขัน บทบาทหน้าที่ของโค้ช ที่พอจะสังเกตได้คือ โค้ช จะเป็นผู้วางตัว / กำหนดตัวนักกีฬาในการเล่นตำแหน่งต่างๆ ให้แต่ละคนเล่นตามศักยภาพ (จุดเด่น) ของตัวเอง โค้ช จะเห็นจุดเด่น และจุดอ่อนของผู้เล่น ร่วมวางกลยุทธ์ในการเล่นร่วมกับผู้เล่น เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน มีอิทธิพลในการช่วยเหลือจูงใจผู้เล่น เพื่อให้ผู้เล่น เล่นให้ดีที่สุด ดังนั้นการเป็นโค้ชจึงเป็นตำแหน่งที่ช่วยให้โค้ชชี่ (ผู้เล่น)สามารถใช้ศักยภาพ ในการปฏิบัติภารกิจ/กิจกรรม ให้ได้ตามเป้าหมายที่โค้ชชี่ต้องการ (เป็นผู้กำหนด) กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเป็นการทำให้ผู้เล่น เล่นได้ดีขึ้น ตามศักยภาพของผู้เล่นนั้น

      “การทำให้ผู้เล่น เล่นได้ดีขึ้น” หากมองสิ่งนี้คือ ภารกิจสำคัญของโค้ช ก็สามารถนำแนวความคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาคนในด้านอื่นๆได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโค้ชในที่ทำงาน , ที่บ้าน หรือแม้กระทั่งการโค้ช ตัวเอง และสิ่งที่โค้ช จะต้องทำและทักษะที่จำเป็นของคนที่จะเป็นโค้ชเพื่อที่จะสามารถทำให้ผู้เล่น เล่นๆได้ดีขึ้นนี้ คืออะไร ก็เป็นสิ่งที่ผู้เป็นโค้ช ต้องหมั่นศึกษา พัฒนา และ ฝึกฝนเช่นกัน



คุณลักษณะของโค้ช
      ชอบเรื่องคน เมื่อต้องยุ่งเกี่ยวกับการพัฒนาคน แน่นอนโค้ชจะ ต้องชอบเรื่องคน และมีจิตวิทยาในการรู้จักคน และอยู่ร่วมกับคน

      มี Ethic (จริยธรรม) โค้ชนอกจากจะเห็นจุดเด่น (ศักยภาพ) ของโค้ชชี่แล้ว ก็ย่อมสามารถเห็นจุดอ่อน (ข้อด้อย) ของโค้ชชี่เช่นกัน การโค้ชที่จะให้ผลดีนั้น ผู้เป็นโค้ชก็ต้องสร้างความไว้วางใจแก่โค้ชชี่ ที่จะเล่าถึงเรื่องต่างๆให้โค้ชฟัง ทั้งนี้หากโค้ชชี่ถูกจัดให้โดนโค้ชแล้ว และต้องเล่าเรื่องราวต่างๆ แต่โค้ชไม่มี Ethic ที่จะเก็บความลับของโค้ชชี่ ก็จะทำให้การโค้ชไม่ประสบความสำเร็จ

      มีภาวะความเป็นผู้นำ  ในแง่ที่ต้องมีส่วนร่วมในการ กระตุ้น จูงใจ และ ช่วยเหลือแนะแนวตามความจำเป็น เพื่อให้ Coachee บรรลุเป้าหมายร่วมกัน


ทักษะที่สำคัญของโค้ช



การใช้คำถามที่ดี (Questioning)
การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
การจูงใจและให้กำลังใจ (Motivation)
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Goal Setting)


      การใช้คำถามและการรับฟังอย่างตั้งใจ เป็นทักษะที่โค้ชควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังในการใช้คำถามที่ดีจะทำให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง, กระตุ้นให้โค้ชชี่เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง และมุ่งมั่นกับเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งเทคนิคการใช้คำถามที่ดี และถูกต้องก็จะช่วยให้โค้ชชี่พัฒนาตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

      การรับฟังอย่างตั้งใจ คือ การฟังเรื่องที่โค้ชชี่ พูดคุยหรือเล่าให้ฟังโดยไม่มีการพูดแทรก หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าโค้ชชี่พูดจบแล้ว จึงค่อยพูดและควรหลีกเลี่ยงที่จะให้แนวความคิดในทันที แต่ใช้คำถามเพิ่มเติมจนแน่ใจว่าโค้ชชี่อยากได้แนวคามคิดของโค้ช จึงจะให้มุมมองแต่ก็ต้องย้ำว่า โค้ชชี่ต้องเป็นผู้คิดว่าจะนำไปใช้หรือไม่ ด้วยตัวโค้ชชี่เอง การแสดงความสนใจฟัง จะทำให้โค้ชชี่รู้สึกผ่อนคลายที่ได้พูดคุยกับโค้ชมากขึ้น และฟังให้เข้าใจความรู้สึกของโค้ชชี่เป็นหลัก ไม่ควรใช้ความคิดของตัวเองระหว่างการฟังโค้ชชี่พูด

      การให้ความคิดเห็นป้อนกลับในเรื่องต่างๆ ควรใช้ภาษาหรือแนวคิดที่เป็นเชิงบวก ไม่ใช่การตำหนิ หรือแสดงตัวเหนือโค้ชชี่ แต่เป็นการให้มุมมองและแนวความคิดที่เป็นประโยชน์เพื่อให้โค้ชชี่ สนใจและอยากนำไปประยุกต์ใช้กับตัวโค้ชชี่เอง และควรระบุให้ชัดว่า โค้ชให้แนวความคิดเห็นป้อนกลับในเรื่องที่เกี่ยวกับด้านใด เช่น
      แนวความคิดของโค้ชชี่
      วิธีการที่โค้ชชี่ปฏิบัติ
      พฤติกรรมการแสดงออก
      เรื่องที่กำลังโค้ชชิ่งอยู่
      ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บทบาทของโค้ช
      โค้ช คือผู้ที่สามารถจูงใจผู้อื่น ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะตามทฤษฎีแล้ว คนเรายังใช้ศักยภาพของตัวเองไปน้อยมาก ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ ดังนั้นหากโค้ชสามารถกระตุ้นให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยการใช้ศักยภาพของตัวเองมากขึ้น ก็จะเกิดผลดีต่อเขา โค้ชจึงเป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้นำทุกๆ ท่านควรใช้ในการพัฒนาทีมงาน

สิ่งที่โค้ชต้องทำ
      ทำให้ผู้อื่นมองเห็นตัวของเขาเอง ถึงศักยภาพที่ถูกใช้ไปหรือติดอยู่กับหลุมพรางทางความคิดเรื่องอะไรอยู่ มีเรื่องอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

      ทำให้เขายอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่ข้อสรุปของโค้ช เพราะความคิดเห็นของโค้ช อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาจะยอมรับก็ได้ ดังนั้น เขาต้องเป็นผู้ยอมรับด้วยตัวเขาเอง

      กระตุ้นให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในสิ่งที่เขาคิดว่าไม่มีประโยชน์กับตัวเขา และมองเห็นประโยชน์ในกรณีที่เขาเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่อจูงใจให้เขาตัดสินใจเลือก การปฏิบัติกับตัวเองใหม่ (เขาต้องเป็นผู้เลือก)

      กำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกับเขา เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อมั่นว่าเขาทำได้ และได้รับกำลังใจจากโค้ช และวางแผนดำเนินการร่วมกัน ไม่ควรเป็น Solution ของโค้ช แต่ควรเป็นSolution ของเขา ที่เกิดจากการร่วมกันคิด แต่คนตัดสินใจนำไปใช้ต้องเป็นตัวเขา

      สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยทำให้เขาเห็นว่าโค้ชมีจุดประสงค์ที่ดี ในการพัฒนาเขา และเขาเลือกที่จะพัฒนาไม่ได้มีการบังคับใดๆ ภาวะผู้นำในตัวโค้ชต้องสูง เพื่อให้เขาเชื่อถือและมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังโค้ชชิ่งเขา

      การรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้เขาพูดในสิ่งที่เขาติดขัด หรือสิ่งที่เขากังวล การรับฟังจะกระตุ้นให้เขาพูดข้อเท็จจริงมากขึ้น และเขาจะยอมรับเรามากขึ้น เพราะโค้ชสนใจในปัญหาของเขาอย่างแท้จริง เมื่อโค้ชให้คำแนะนำ หรือแนวคิดใดๆ เขาก็จะอยากนำไปพิจารณาเพราะรู้สึกว่าโค้ชสนใจเขา

บทบาทของการเป็นโค้ช : โค้ชควรใช้บทบาทนี้อย่างสม่ำเสมอระหว่างการโค้ชชิ่ง คือ
1. การเป็นกระจกเงา : สะท้อนให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง
2. การเป็นไกด์ทัวร์ : บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณณ์ของเราให้ฟัง
3. การเป็นเทียนไข : คอยให้กำลังใจและให้พลังแก่เขาเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค
4. การเป็นแผนที่ : กำหนดเป้าหมายและแผนงานร่วมกับเขา

Untitled Document
 
tag : 
 
:: Coach@Work ::
Coachtalk แนะนำ
  กังฟูแพนด้ากับการพัฒนาคนในฐานะโค้ช
ให้แนวคิดการพัฒนาคนในฐานะโค้ช ...
 
  เส้นทางสายอาชีพของตัวเอง
สำรวจ เส้นทางสายอาชีพของตัวเอง...
 
  ตัวอย่างบทสนทนาการโค้ช
จากประสบการณ์การโค้ชของผม...
 
  คู่มือการโค้ชเบื้องต้นเพื่อการพัฒนา
โดยมีหัวข้อประมาณนี้ดีไหมครับ?...
 
  การสอนที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
การพิสูจน์ความเชื่อของตัวเองด้วย...
 
  หลักการโค้ช เกิดขึ้นจากอะไร?
หลักการโค้ช เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า...
 
  พิสูจน์ความเชื่อของตัวเอง
โมเดลการฝึกฝนการฟังในฐานะโค้ช...
 
  คนอื่นไม่เข้าใจเราเป็นเพราะเหตุใด?
คนอื่นไม่เข้าใจเราแล้วเรา...
 
  สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดเป็น Mindset
องค์กรสร้าง Mindset ที่ดีๆ...
 
  โค้ชตัวเอง ก่อนโค้ชผู้อื่น
ผู้เรียนขอกลับไปโค้ชตัวเองก่อน...
     
     
     
     
Untitled Document
 
Copyright @2013. All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.
112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240