Untitled Document
 
 
 
:: Coach@Work ::
 
เอาชนะความวิตกกังวลด้วยตัวเอง
      - 19 December 2013 coaching
รู้จักการแก้ปัญหา
      - 14 November 2013
สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
      - 14 October 2013
โค้ชผู้บริหาร (Executive Coachintg) ความคิดเห็นของโค้ชชี่ (ผู้บริหาร)
      - 13 September 2013
พ่อ-แม่ ปรับเปลี่ยนแนวความคิดกับลูกบ้าง
      - 16 August 2013
เผชิญกับเรื่องที่ยากด้วยความอยาก
      - 11 July 2013
การปรับเปลี่ยนมุมมองของตัวเองใหม่
      - 13 June 2013
การมองข้อดีของหัวหน้า
      - 21 May 2013
เสน่ห์การเป็นโค้ช ช่วยคนได้จริงหรือ?
      - 23 April 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 3
      - 1 April 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 2
      - 15 Febuary 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 1
      - 27 JULY 2012
การสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง
      - 23 JULY 2012
แก่นสำคัญของการเป็นโค้ช
      - 23 JULY 2012
เส้นทางก่อนเป็นโค้ช
      - 23 JULY 2012
พ่อ-แม่ ปรับเปลี่ยนแนวความคิดกับลูกบ้าง
โดย อาจารย์ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
coaching
 
ผมได้มีโอกาสจัดฝึกอบรม หลักสูตร “Leader as a Coach” และ หลักสูตร “To Be Good Coach” ในลักษณะ In House Group Coachingอยู่หลายบริษัท และทุกครั้ง จะมีคนชอบปรึกษาว่า ถ้าจะนำไปโค้ชชิ่งลูกบ้างจะได้ไหม? ซึ่งผมก็รีบสนับสนุนเลย เพราะเห็นประโยชน์เป็นอย่างมากที่ พ่อแม่ จะใช้บทบาทการเป็นโค้ชบ้าง ผมเลยเปิดโอกาสให้ ยกกรณีที่รู้สึกกับลูกในเชิงลบ แล้วผมขออนุญาตโค้ชชิ่งผู้เรียนหน่อยว่า ถ้าเราปรับเปลี่ยนแนวความคิดกับลูก โดยใช้คำถามกับเขาจะทำให้เขาเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่?
 
คุณจินตนา :
อาจารย์ค่ะ ถ้าลูกดื้อ เราจะโค้ชชิ่งเขาอย่างไรค่ะ
อาจารย์ :
เราไม่คิดว่าเขาดื้อได้ไหมครับ คิดว่าเขากำลังเรียกร้องความสนใจเท่านั้น
คุณจินตนา :
แต่เขาดื้อมากจริงๆ นะค่ะ จะเอาอะไรก็ต้องได้ แล้วจะเซ้าซี้ ไม่ยอมเลิกเลย อาจารย์จะให้ดิฉันทำอย่างไรค่ะ
อาจารย์ :
การที่เขาพยายามเซ้าซี้ เพื่อให้ได้สิ่งนั้น เป็นเพราะเขาไม่มีเรื่องอื่นที่สนใจ เขาจึงยังเรียกร้องเรื่องนี้อยู่ ถ้าเราเปลี่ยนให้เขาไปสนใจเรื่องอื่นแทน เขาจะลืมเรื่องนี้ไปได้ครับ
คุณจินตนา :
แล้วจะทำอย่างไรละค่ะ ช่วยบอกแนวหน่อย
อาจารย์ :
ลองถามว่า “สิ่งที่ลูกกำลังขออยู่นี้ รู้เหตุผลของแม่หรือไม่ที่ไม่ให้”
คุณจินตนา :
ถ้าเขาบอกว่า “ไม่รู้” หรือ ไม่ยอมตอบล่ะค่ะ
อาจารย์ :
ลองถามเขาว่า “รู้ไหมว่าต้องทำอย่างไรบ้างที่จะได้สิ่งนี้” รู้ แต่หนูอยากได้ก่อน แล้วหนูจะทำให้ ลองถามว่า “หนูมีเรื่องอื่นที่อยากได้อีกหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ เรื่องนี้” เปลี่ยนความสนใจเขาไปเรื่องอื่นก่อน เช่นช่วยแม่ทำนี่หน่อยซิค่ะ ถ้าเขายังดื้อเรื่องที่เขาต้องการอยู่อีกล่ะ คุยกับเขาว่า “เราเคยตกลงกันว่า ถ้าจะได้เรื่องนี้ ต้องทำอะไรบ้างนะ?” (พยายาม ทำให้เขามองเห็นว่า เขาจะเอาแต่ใจตัวเองไม่ได้ ต้องคุยกันด้วยเหตุผล)
คุณจินตนา :
อย่างนี้ก็คือว่า เราไม่ควรโมโหที่เขาเซ้าซี้ แต่ให้พยายามเปลี่ยนความสนใจเขาเป็นเรื่องอื่น และหรือ ทำให้เขารู้สึกได้ว่าเขาต้องมีเหตุผล ใช่ไหมค่ะ
อาจารย์ :
ถูกต้องแล้วครับ เขาเรียกร้องหรือเซ้าซี้ เราไม่มีอารมณ์ได้หรือไม่ เพราะเราต้องการสอนเขาให้มีเหตุผล ถ้าเราโมโหเสียแล้ว เราก็จะด่าว่าเขา สุดท้ายก็โกรธกัน ไม่ได้สอนซักที
คุณจินตนา :
ดิฉัน เข้าใจแล้วค่ะ แต่มันยากมากเลย
อาจารย์ :
ผมเข้าใจครับว่า มันยาก แต่ถ้าทำได้มันคุ้มหรือไม่ครับ
คุณจินตนา :
ก็คุ้มค่านะค่ะ ดิฉันจะลองทำดู
อาจารย์ :
ยินดีด้วยครับ ขอให้ทำสำเร็จนะครับ
 
การสอนลูกๆ นั้นจะต้องใจเย็น เพราะถ้าเราโมโหแล้ว เขาก็จะกลัว แต่เขาจะไม่ได้เรียนรู้ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ อยากให้เรื่องจบเร็วๆ เลยใช้การดุหรือโมโหใส่ แต่จริงๆ แล้ว เด็กจะหยุดไปชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าทำให้เขาคิดอย่างมีเหตุผลได้ เขาก็จะเติบโตอย่างมีคุณภาพมากขึ้นครับ

การอดทนในการสอนลูก ในลักษณะการใช้คำถาม เพื่อให้เขาได้คิด จะเหมาะสมกับเด็กรุ่นใหม่ ที่มีความคิดของตัวเอง แล้วเราก็จะไม่เครียดในตอนสอนด้วย ลองทำดูนะครับ 
 
coaching
coaching
coaching
coaching
coaching
coaching
 
 
Untitled Document
 
Copyright @2013. All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.
112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240