Untitled Document
:: Coach@Work ::
เอาชนะความวิตกกังวลด้วยตัวเอง
- 19 December 2013
รู้จักการแก้ปัญหา
- 14 November 2013
สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
- 14 October 2013
โค้ชผู้บริหาร (Executive Coachintg) ความคิดเห็นของโค้ชชี่ (ผู้บริหาร)
- 13 September 2013
พ่อ-แม่ ปรับเปลี่ยนแนวความคิดกับลูกบ้าง
- 16 August 2013
เผชิญกับเรื่องที่ยากด้วยความอยาก
- 11 July 2013
การปรับเปลี่ยนมุมมองของตัวเองใหม่
- 13 June 2013
การมองข้อดีของหัวหน้า
- 21 May 2013
เสน่ห์การเป็นโค้ช ช่วยคนได้จริงหรือ?
- 23 April 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 3
- 1 April 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 2
- 15 Febuary 2013
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช แบบที่ 1
- 27 JULY 2012
การสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง
- 23 JULY 2012
แก่นสำคัญของการเป็นโค้ช
- 23 JULY 2012
เส้นทางก่อนเป็นโค้ช
- 23 JULY 2012
แก่นสำคัญของการเป็นโค้ช
โดย อาจารย์ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
โค้ชคือผู้ที่สามารถจูงใจผู้อื่น
ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะตามทฤษฎีแล้ว คนเรายังใช้ศักยภาพของตัวเองไปน้อยมาก ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ ดังนั้นหากโค้ชสามารถกระตุ้นให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยการใช้ศักยภาพของตัวเองมากขึ้น ก็จะเกิดผลดีต่อเขา โค้ชจึงเป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้นำทุกๆ ท่านควรใช้ในการพัฒนาทีมงาน
สิ่งที่โค้ชต้องทำ
ทำให้ผู้อื่นมองเห็นตัวของเขาเอง ถึงศักยภาพที่ถูกใช้ไปหรือติดอยู่กับหลุมพรางทางความคิดเรื่องอะไรอยู่ มีเรื่องอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ทำให้เขายอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่ข้อสรุปของเรา เพราะความคิดเห็นของเรา อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาจะยอมรับก็ได้ ดังนั้น เขาต้องเป็นผู้ยอมรับด้วยตัวเขาเอง
กระตุ้นให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในสิ่งที่เขาคิดว่าไม่มีประโยชน์กับตัวเขา และมองเห็นประโยชน์ในกรณีที่เขาเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่อจูงใจให้เขาตัดสินใจเลือก การปฏิบัติกับตัวเองใหม่ (เขาต้องเป็นผู้เลือก)
กำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกับเขา เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อมั่นว่าเขาทำได้ และได้รับกำลังใจจากเรา และวางแผนดำเนินการร่วมกัน ไม่ควรเป็น Solution ของของเรา แต่ควรเป็นSolution ของเขา ที่เราร่วมกันคิด แต่คนตัดสินใจนำไปใช้ต้องเป็นตัวเขา
สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยทำให้เขาเห้นว่าเรามีจุดประสงค์ที่ดี ในการพัฒนาเขา และเขาเลือกที่จะพัฒนาไม่ได้มีการบังคับใดๆ ภาวะผู้นำในตัวเราต้องสูง เพื่อให้เขาเชื่อถือและมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังโค้ชชิ่งเขา
การรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้เขาพูดในสิ่งที่เขาติดขัด หรือสิ่งที่เขากังวล การรับฟังจะกระตุ้นให้เขาพูดข้อเท็จจริงมากขึ้น และเขาจะยอมรับเรามากขึ้น เพราะเราสนใจในปัญหาของเขาอย่างแท้จริง เมื่อเราให้คำแนะนำ หรือแนวคิดใดๆ เขาก็จะอยากนำไปพิจารณาเพราะรู้สึกว่าเราสนใจเขา
“ไม่มีใครสนใจว่าคุณเก่งแค่ไหน จนกว่าเขาจะรู้สึกว่าคุณสนใจเขามากแค่ไหน”
บทบาทของการเป็นโค้ช
: ผมใช้บทบาทนี้อย่างสม่ำเสมอระหว่างการโค้ชชิ่ง คือ
1. การเป็นกระจกเงา : สะท้อนให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง
2. การเป็นไกด์ทัวร์ : บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณณ์ของเราให้ฟัง
3. การเป็นเทียนไข : คอยให้กำลังใจและให้พลังแก่เขาเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค
4. การเป็นแผนที่ : กำหนดเป้าหมายและแผนงานร่วมกับเขา
เทคนิคกระตุ้นให้โค้ชชี่เปลี่ยนแปลง
เน้นการใช้ คำถามในเชิงสร้างสรรค์! และการให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงบวก ทำให้เขาเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องต่างๆ จูงใจให้เขาคิดด้วยตัวเขาเอง เช่น
คิดว่าถ้าทำแบบนี้แล้ว …จะได้ประโยชน์อะไร?
ไหนลองบอกหน่อยซิว่า ควรทำแบบไหนดีที่ไม่เหมือนเดิม?
ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดโทษอย่างไรบ้าง?
เธอเคยทำได้มาแล้ว ครั้งนี้ก็น่าจะทำได้นะ เห็นด้วยหรือไม่?
ถ้าคนอื่นทำสำเร็จ คิดว่าเราจะทำสำเร็จด้วยหรือไม่?
เป็นต้น
คำสำคัญที่ใช้ประกอบการโค้ชชิ่ง
ศักยภาพ
ทัศนคติเชิงบวก
จับถูก
เป็นต้น
พัฒนาจุดเด่น
เ ป้าหมาย
ถามว่า “ทำอย่างไร?”
ประสบการณ์
คำสำคัญเหล่านี้ผมจะใช้สอดแทรกให้แง่คิด อยู่ตลอด เพราะทำให้โค้ชชี่ เปลี่ยนความคิดตัวเองไปเป็นเชิงบวกได้ดี ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังในกรณีศึกษาต่างๆ ที่ผมจะทยอยเขียนครับ
Untitled Document
Home
|
About Us
|
Knowledge
|
Tools
|
Technic
|
Coaching Service
|
Contact
Copyright @2013. All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.
112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240